กิจกรรม
ระดับชุมชน
1. การเผยแพร่ผลงานการประพันธ์และออกแบบเพลงระบำเชียงงาม
การเผยแพร่ผลงานการประพันธ์และออกแบบเพลงระบำเชียงงาม ควบคุมการประพันธ์และออกแบบท่ารำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ รำแสดงในงานพิธีเปิด Night Museum ของพิพิธภัณฑ์สถานธรรมชาติวิทยาแห่งจังหวัดน่าน ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน วันที่ 18 ธันวาคม 2563 โดยโรงเรียนสตรีศรีน่าน
2. การแสดงบทละครร้อง เรื่องเจ้าหญิงพลาเลิศสักษณาวไล ประกอบออร์แกนและขับเสภา
การแสดงบทละครร้อง เรื่องเจ้าหญิงพลาเลิศลักษณาวไล ประกอบออร์แกนและขับเสภา โดย อาจารย์ ดร.สัญห์ไชย เอื้อศิลป์และรองศาสตราจารย์ ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ วันที่ 4 ตุลาคม 2563 ณ วัตรทรงธรรมกัลยาณี สร้างคุณธรรมและจรรโลงสังคม
การแสดงละครร้องดังกล่าว เป็นเนื้อหาดุษฎีนิพนธ์ ของ ดร.สัญห์ไชย เอื้อศิลป์ นิสิตในความดูแลของศูนย์เชี่ยวชาญฯ
3. ผลงานการเรียบเรียงเพลง “ตับเย็นย่ำออกสี่ภาษา”
ผลงานการเรียบเรียงเพลง “ตับเย็นย่ำออกสี่ภาษา” ของรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ เผยแพร่งานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “จเปย” เผยแพร่ ณ จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2563
4. ผลงานการสร้างสรรค์บทเพลง “โหมโรงการะเวกใหญ่ ออกเพลงวิเวกเวหา”
ผลงานการสร้างสรรค์บทเพลง “โหมโรงการะเวกใหญ่ ออกเพลงวิเวกเวหา” ของรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ เผยแพร่ในงานไหว้ครูดนตรีไทย ณ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว วันที่ 23 กันยายน 2563
5. ผลงานการสร้างสรรค์ทำนองเพลง “ระบำวิฬาร์มังคละ”
ผลงานการสร้างสรรค์ทำนองเพลง “ระบำวิฬาร์มังคละ”ของรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำเผยแพร่ในการแสดงนิทรรศการเรื่องSkeleton’s Secrets ความลับของโครงกระดูก จัดโดยสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 18 ธันวาคม 2563
6. ผลงานการสร้างสรรค์ทำนองเพลง “ระบำม้าย่ำคอก”
ผลงานการสร้างสรรค์ทำนองเพลง “ระบำม้าย่ำคอก” ของรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ เผยแพร่ในการแสดงนิทรรศการเรื่อง Skeleton’s Secrets ความลับของโครงกระดูก จัดโดยสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 18 ธันวาคม 2563
7. ผลงานการสร้างสรรค์ทางเดี่ยวฆ้องวงเล็ก เพลงสารถี สามชั้น
ผลงานการสร้างสรรค์ทางเดี่ยวฆ้องวงเล็ก เพลงสารถี สามชั้น ของรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ เผยแพร่ในการแสดงนิทรรศการเรื่องSkeleton’s Secrets ความลับของโครงกระดูก จัดโดยสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 18 ธันวาคม 2563
ระดับชาติ
1. การจัดสัมมนา เจรียงจับเปย: สะพานวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา
การจัดสัมมนา เจรียงจับเปย: สะพานวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา ณ โรงเรียนศรีสะอาด ตำบลศรีสะอาด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 เวลา 18:00-20:30 น. โดยความควบคุมกิจกรรมของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัฒนธรรมดนตรีไทย (รองศาสตราจารย์ ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนาทั้งสิ้น 178 คน และมีผู้เข้ารับฟังจากการถ่ายทอดสดมากกว่า 7,700 ครั้ง (7.7K Views) การเข้าถึงเพจจำนวน 1.9K
2. สัมมนาทางดุริยางคศิลป์ไทยเรื่อง กาเมอลัน: เก้าทศวรรษวงดนตรีชวาสู่ราชอาณาจักรสยาม
การจัดสัมมนาทางดุริยางคศิลป์ไทยเรื่อง กาเมอลัน: เก้าทศวรรษวงดนตรีชวาสู่ราชอาณาจักรสยาม ร่วมกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.00-16.30 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ กรรมการศูนย์เชี่ยวชาญฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบค้นประวัติศาสตร์ของบทเพลงไทยที่ได้รับการเผยแพร่ในประเทศอินโดนีเซียผ่านวัฒนธรรมราชสำนักดนตรีกาเมอลัน โดยสามารถสืบค้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระหว่างสยามและชวาในระหว่างปี พ.ศ. 2472-2562
3. การเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ การประพันธ์เพลงชุด “ชาติพันธุ์คัลเลอร์ฟูล”
การเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ การประพันธ์เพลงชุด “ชาติพันธุ์คัลเลอร์ฟูล” ประพันธ์และเรียบเรียงทำนองโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระคมขำ เผยแพร่ 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 จัดแสดงคอนเสิร์ตในงานสังคีตสราญรมย์ ครั้งที่ 164 จัดโดยศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ ณ สถาบันคึกฤทธิ์ ซอยสาทร 1 ถนนสาทร ในวันที่ 3 สิงหาคม 2562 เผยแพร่ครั้งที่ 2 จัดแสดงในงานบูรณาการศิลป์อาเซียน ครั้งที่ 2 จัดแสดงในงาน ASEAN University Network on Culture and the Arts (AUN-CA) ประเทศลาวเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 13 – 18 ตุลาคม 2562 ครั้งที่ 3 ณ สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 18-21 มกราคม 2563 โดยการแสดงโดยความรวมมือของนิสิตนักศึกษากลุ่มเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน AUN – AYCF ประกอบด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ และกรรมการศูนย์ฯ เป็นประธานกลุ่มเครือข่าย
ระดับนานาชาติ
1. การเผยแพร่ผลงานการสร้างสรรค์ การประพันธ์เพลง “ชาติพันธุ์คัลเลอร์ฟูล”
การเผยแพร่ผลงานการสร้างสรรค์ การประพันธ์เพลง “ชาติพันธุ์คัลเลอร์ฟูล” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ ในงาน 17th ASEAN and 7th ASEAN+3 Youth Cultural Forum สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 13-18 ตุลาคม 2562
2. การเผยแพร่ผลงานการสร้างสรรค์ระหว่างวงเครื่องสายไทยประสมกีต้าร์
การเผยแพร่ผลงานการสร้างสรรค์ระหว่างวงเครื่องสายไทยประสมกีต้าร์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ กรรมการศูนย์ฯ ร่วมกับครูอาวุโสและศิลปินชาวต่างประเทศ Dr. John Garzoli ตำแหน่ง Research Fellow จาก Sir Zelman Cowen School of Music (SZCSom) มหาวิทยาลัย Monash University ในการแสดงคอนเสิร์ต The Pursuit of Imagined Sounds: Thai String Ensemble & Guitar ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 24 มกราคม 2563เวลา 18.00-20.00 น.
3. การจัดงานเทศกาล The 3rd Indonesian Performing Arts Festival
การจัดงานเทศกาล The 3rd Indonesian Performing Arts Festival ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย ในวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2562 เวลา 16.30-18.30 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การแสดงประกอบไปด้วยการแสดงทั้งหมด 5 ชุดการแสดงและมีการแสดงที่สำคัญคือการแสดงชุดใหม่ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ร่วมกันในการออกแบบแนวคิดและค้นคว้าเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ร่วมกันโดยรองศาสตราจารย์ ดร. พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ กรรมการศูนย์เชี่ยวชาญ และคณาจารย์จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บทเพลงชื่อระบำฆ้องใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ ได้ถ่ายทอดแนวคิดและเนื้อหาจากค้นคว้าให้แก่รองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อนที่ปรึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ให้เกียรติเป็นผู้ประพันธ์ระบำฆ้องใหม่ บทประพันธ์ใหม่ประสมเครื่องดนตรีจากวงกาเมอลันกับวงปี่พาทย์ ออกแบบท่ารำระบำฆ้องใหม่ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ วรรณวิไชย คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ออกแบบเครื่องแต่งกายโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์ รองคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
4. โครงการ The 18th International Thai Culture Camp 2020
โครงการ The 18th International Thai Culture Camp 2020 วันที่ 17-18 มกราคม 2563 ประกอบไปด้วย 4 สัญชาติ ได้แก่ ไทย เมียนมา เกาหลี และอินโดนิเซีย จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 85 คน ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.บุษกร บิณฑสันต์ รองศาสตราจารย์ ดร. พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ กรรมการในศูนย์ฯ ควบคุมดูแล การฝึกอบรมกิจกรรมวัฒนธรรม ดนตรีไทย นาฏยศิลป์ และภาษา